ร่วมทดสอบความสามารถในการทายผลกีฬา
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

                                                                   

                                                                                              ประวัติมวยไทย

ความเป็นมาของมวยไทย มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่สามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเชิงกีฬาและการต่อสู้จริง ๆ ศิลปะประเภท นี้มีมาแต่โบราณกาล บรรพบุรุษของชาติไทยได้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนกุลบุตรไว้เพื่อป้องกันตัวและชาติ บรรดาชายฉกรรจ์ของไทยได้รับการฝึกฝน วิชามวยไทยแทบทุกคน นักรบผู้กระเดื่องนามทุกคนต้องได้รับการฝึกฝนอบรมศิลปะประเภทนี้อย่างจัดเจนทั้งสิ้น เพราะการใช้อาวุธในสมัยโบราณ เช่น กระบี่ พลอง ดาบ ง้าว ทวน ฯลฯ ถ้ามีความรู้วิชามวยไทยประกอบด้วยแล้วจะทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เข้าต่อสู้ติดพันประชิดตัว ก็จะได้อาศัยใช้อวัยวะบางส่วนเข้าช่วย เช่น เข่า เท้า ศอก เป็นต้น แต่เดิมมาศิลปะมวยไทยที่มีชั้นเชิงสูงมักจะฝึกสอนกันในบรรดาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือเฉพาะพระมหากษัตริย์และขุนนางฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาจึงได้แพร่หลายไปถึงสามัญชนซึ่งได้รับการถ่ายทอดวิทยาการจากบรรดา อาจารย์ซึ่งเดิมเป็นขุนพลหรือยอดนักรบมาแล้ว วิทยาการจึงได้แพร่หลายและคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้

เราก็มาว่าเรื่องกติกาของมวยไทยกันเลย มันมีทั้งหมด 25 กติกา ผมก็จะยกตัวอย่างมาให้ดูกัน 5 กติกาล่ะกันนะครับ

กติกาข้อที่ 1 " สังเวียน "
ในการแข่งขันทั่ว ๆ ไป สังเวียนต้องเป็นไปตามข้อกำหนดต่อไปนี้ี้

          1.ขนาด สังเวียนต้องเย็บมุมสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดเลิก ด้านละ 20 ฟุต (6.10 เมตร) และขนาดใหญ่ ด้านละ 24 ฟุต (7.30 เมตร) ซึ่งวัดภายในของเชือก
           2.พื้นและมุม พื้นสังเวียนต้องสร้างให้ปลอดภัย และได้ระดับปราศจากสิ่งกีดขวางใด ๆ และต้องยื่นออกไปนอกเชือก อย่างน้อย 90 ซม. (36 นิ้ว) พื้นสังเวียนต้องอยู่สูงจากพื้นอาคารไม่ต่ำกว่า 4 ฟุต และสูงไม่เกิน 5 ฟุต ตั้งเสาขนาด 4-5 นิ้ว สูงขึ้นไปจากพื้นเวที 58 นิ้ว
มุมทั้งสี่ต้องหุ้มนวมให้เรียบร้อยหรือจะทำอย่างใดที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่นักมวย
           3.การปูพื้นสังเวียน พื้นสังเวียนต้องปูด้วย ยาง ผ้าอย่างอ่อน เสื่อฟางอัด ไม้ก๊อกอัดหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม หนาไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว และไม่หนากว่า 1? นิ้ว และปูทับด้วยผ้าใบให้ตึงและมิดชิดคลุมพื้นสังเวียนทั้งหมด
เชือก ต้องมีเชือก 4 เส้น มีความหนาอย่างน้อย 3 ซม. (1.18 นิ้ว) อย่างมาก 5 ซม. (1.97 นิ้ว) ขึงตึงกับเสามุมทั้งสี่ของสังเวียน สูงจากฟื้นสังเวียนขึ้นไปถึง ด้านบนของเชือก 45 ซม. (18 นิ้ว) 75 ซม. (30 นิ้ว) 105 ซม. (42 นิ้ว) และ 135 ซม. (54 นิ้ว) ตามลำดับเชือกต้องหุ้มด้วยวัสดุที่อ่อนนุ่มและเรียบ           4.เชือกแต่ละด้านของสังเวียนต้องผูกยึดกันด้วยผ้าเหนียว 2 ชิ้น ซึ่งมีขนาดกว้าง 3 – 4 ซม. (1.2 – 1.6 นิ้ว) ให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน และผ้าที่ผูกนั้นต้อง ไม่เลื่อนไปตามเชือก
           5.บันได สังเวียนต้องมีบันได 3 บันได มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 3 ? ฟุต สองบันไดต้องอยู่ที่มุมตรงข้ามสำหรับผู้เข้าแข่งขันและพี่เลี้ยง ส่วนอีกบันไดหนึ่ง ให้อยู่ที่มุม กว้าง สำหรับผู้ชี้ขาดและแพทย์
           6.กล่องพลาสติก ที่มุมกลางทั้งสองมุมนอกสังเวียน ให้ติดกล่องพลาสติกมุมละ 1 กล่อง เพื่อให้ผู้ชี้ขาดทิ้งสำลี หรือกระดาษที่ใช้ซับเลือก

กติกาข้อที่ 2 อุปกรณ์สังเวียน
อุปกรณ์ประจำสังเวียนจะต้องประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้


           1.ที่นั่งพักนักมวย สำหรับนักมวยนั่งพักระหว่างยก 2 ที่
           2.ขวดน้ำขนาดเล็ก 2 ขวด สำหรับดื่ม และขวดน้ำชนิดพ่นฝอย 2 ขวด              ไม่อนุญาตให้นักมวยหรือที่เลี้ยงใช้ขวดน้ำชนิดอื่น ๆ ในสังเวียน
           3.ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน
           4.น้ำ 2 ถัง
           5.โต๊ะและเก้าอี้สำหรับเจ้าหน้าที่ระฆัง
           6.นาฬิกาจับเวลาชนิดกดหยุดได้ 1 หรือ 2 เรือน
           7.ใบบันทึกคะแนน
           8. หีบใส่กุญแจสำหรับเก็บใบบันทึกคะแนน
           9.ป้ายบอก ยก – เวลา – คู่ 1 ชุด
         10.นวม 2 คู่
         11.กางเกงมวยสีแดง และสีน้ำเงิน อย่างละ 1 ตัว
         12.กระจับพร้อมเชือก 1 – 2 อัน
         13.ฉากบังตา 2 อัน (ใช้ในกรณีที่นักมวยกระจับหลุด)
         14.เปลหามคนเจ็บ 1 ชุด
         15.กรรไกรปลายมน 1 อัน


กติกาข้อที่ 3 " นวม " นวมที่ใช้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ต้องมีคุณสมบัติดังนี้


           1. นวมที่ใช้ในการแข่งขัน ผู้แข่งขันต้องใช้นวมที่ได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลก ซึ่งคณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดไว้ให้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้แข่งขัน ใช้นวมของตัวเอง
            2.รายละเอียดของนวม นักมวยตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นน้ำหนัก 122 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 8 ออนซ์ ( กรัม) นักมวยรุ่นสูงกว่า 122 ปอนด์ ถึงรุ่นน้ำหนัก 147 ปอนด์ ใช้นวมขนาด 10 ออนซ์ (284 กรัม) ส่วนที่เป็นหนังต้องหนักไม่เกินครึ่งหนึ่งของน้ำหนักนวมทั้งขนาดและไส้นวมต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนัก นวมทั้งหมด ไส้นวมต้องไม่เปลี่ยนรูปหรือถูกบดขยี้ให้กระจายไปจากรูปเดิม ต้องผูกเชือกนวมให้ปมเชือกอยู่ด้านนอกหลังข้อมือของนวม ให้ใช้นามที่สะอาด และให้การได้เท่านั้น
            3.การตรวจผ้าพันมือและการสวมนวม ทั้งนวมและผ้าพันมือจะต้องเหมาะสม อยู่ภายใต้การตรวจตราของเจ้าหน้าที่ตรวจนวม เจ้าหน้าที่จะต้องคอยดูแลเพื่อให้แน่ใจว่า นักมวยปฏิบัติถูกต้องตามกติกาทุกอย่าง จนกระทั่งนักมวยขึ้นสู่เวที

กติกาข้อที่ 4 " ผ้าพันมือ "

          ให้ใช้ผ้าพันมืออย่างอ่อนยาวข้างละไม่เกิน 6 เมตร กว้างไม่เกิน 5 ซม. ผ้าพันมือชนิดอื่นใช้ไม่ได้ แถบกาวยางหรือพลาสเตอร์ทุกชนิด เป็นผ้าพันมือไม่ได้เด็ดขาด อาจใช้ พลาสเตอร์ยางไม่เกิน 2.5 เมตร กว่าง 2.5 ซม. ข้างละ 1 เส้น ปิดทับข้อมือหรือหลังมือห้ามพันทับสันหมัด


กติกาข้อที่ 5 " เครื่องแต่งกาย "


ก. การแต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน
1.ต้องสวมกางเกงขาสั้นเพียงครึ่งโคนขาให้เรียบร้อยไม่สวมเสื้อและรองเท้านักมวยมุมแดงให้กางเกงสีแดง ชมพู สีเลือดหมู หรือสีขาวที่มีแถบแดงคาด นักมวยมุมน้ำเงินใช้กางเกงสีน้ำเงิน และสีดำ ห้ามคาดแถบสีแดง และต้องสวมเสื้อคลุมตามข้อบังคับสภาพมวยไทยโลก
2 .ต้องสวมกระจับที่ทำขึ้นจากวัสดุแข็งแรงทนทาน และได้รับการรับรองจากสภามวยไทยโลกเมื่อถูกตีด้วยเข่าหรืออาวุธในการต่อสู้อย่างอื่นตรงบริเวณ อวัยวะเพศจะไม่ทำให้เกิดอันตราย การผูกกระจับต้องผูกปมไว้ด้านหลัง และต้องผูกด้วยเงื่อนตาย เก็บปลายเชือกส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย
3.ห้ามไว้ผมยาวรุงรัง และห้ามไว้เครา อนุญาตให้ไว้หนวดได้แต่ต้องยาวไม่เกินริมฝีหาก เล็บเท้า ต้องตัดให้เรียบและสั้น
4. ต้องสวมมงคลผ้าประเจียด หรือรัดเกล้า เฉพาะเวลาร่ายรำไหว้ครู ก่อนทำการแข่งขันเท่านั้น เครื่องรางอนุญาตให้ผูกที่โคนแขน หรือเอว แต่ต้องหุ้มผ้าให้มิดชิดเรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่คู่แข่งขัน
5.อนุญาตให้ใช้ปลอกยืดรัดข้อเท้ากันเคล็ด สวมข้อเท้าได้ข้างละไม่เกิน 1 อัน แต่ห้ามมิให้เลื่อนปลอกรัดขึ้นไปเป็นสนับแข้งหรือม้วนพับลงมา และห้ามใช้ผ้ารัดขาและข้อเท้า
6.ห้ามใช้เข็มขัดหรือสิ่งที่เป็นโลหะ สร้อย ฯลฯ
7.ห้ามใช้น้ำมันวาสลิน น้ำมันร้อน ไขหรือสมุนไพร หรือสิ่งอื่นที่ทำให้คู่แข่งขันเสียเปรียบหรือเป็นที่น่ารังเกียจทาร่างกายหรือนวม
8.ฟันยาง ผู้แข่งขันต้องใส่ฟันยาง

ข. การละเมิดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย ผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยที่แต่งกายไม่สะอาดถูกต้องออกจากการแข่งขัน ในกรณีที่นวมหรือเครื่องแต่งกายของนักมวยไม่เรียบร้อยขณะแข่งขัน ผู้ชี้ขาดจะหยุดการแข่งขันเพื่อจัดให้เรียบร้อย 

คราวนี้ก็มาเรื่องสนามมวย จะมีอยู่ 2 สนามมวยนะครับ ก็มี เวทีมวยราชดำเนิน และก็ เวทีมวยลุมพ

เวทีมวยราชดำเนิน

                                     อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม มีคำสั่งให้สร้างสนามมวยบนถนนราชดำเนินในปีพ.ศ. 2484 คำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก ที่รัฐบาลได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน และแจ้งไปยังบรรดาเจ้าของที่ดินตามแนวถนนราชดำเนิน เพื่อรัฐบาลสามารถก่อสร้างอาคารต่างๆ ให้เป็นไปตามผังเมืองที่กำหนดไว้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการนี้ ในเบื้องต้นได้มีการกำหนด ให้สร้างสนามมวย ณ บริเวณสวนมิสกวัน มุมถนนพิษณุโลกและราชดำเนินนอก ต่อมาได้มีการพิจารณาให้เปลี่ยนจากสถานที่ที่กำหนดไว้เดิม มาเป็นสถานที่ตั้งในปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับสนามมวย ปัจจุบันสนามมวยยังคงตั้งอยู่บนถนนราชดำเนินนอก ตัดกับถนนพะเนียง ตรงข้ามกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

เวทีมวยลุมพินี

                                   สนามมวยเวทีลุมพินี ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2499 เป็นสนามมวยมาตรฐาน 1 แห่งในจำนวนทั้งหมด 2 แห่งในประเทศไทย ได้สร้างชื่อเสียงทั้งในด้านการเสริมสร้างและผลิตนักมวยไทยชั้นนำของประเทศ ส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสร้างนักมวยสากลจนสามารถเป็นแชมเปี้ยนโลกหลายคน และมีส่วนส่งเสริมธุรกิจภายในประเทศด้วยการสร้างอาชีพให้แก่นักมวย, ค่ายมวย และผู้จัดการรวมทั้งในความบันเทิงแก่ผู้สนใจในวงการกีฬาประเภทนี้โดยทั่วกัน
วัตถุประสงค์

ศิลปะแม่ไม้มวยไทย

                            แม่ไม้มวยไทย หมายถึง ท่าของการผสมผสานการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุกหรือรับในการต่อสู้ด้วยมวยไทย การจะใช้ศิลปะไม้มวยไทยได้อย่างชำนาญ จะต้องผ่านการฝึกเบื้องต้นในการใช้หมัด เท้า เข่า ศอก แต่ละอย่างให้คล่องแคล่วก่อน จากนั้นจึงจะหัดใช้ผสมผสานกันไปทั้งหมัด เท้า เข่า ศอกและศิลปะการหลบหลีก ซึ่งขึ้นอยู่กับครูมวยที่จะคิดดัดแปลงพลิกแพลงเพื่อนำไปใช้ให้ได้ผลแล้วตั้งขื่อท่ามวยนั้นๆ ตามลักษณะท่าทางให้จดจำได้ง่าย เมื่อมีท่ามวยมากขึ้นจึงจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ หรือตั้งชื่อให้เรียกขานคล้องจองกันเพื่อลูกศิษย์จะได้ท่องจำและไม่ลืมง่าย ในอดีตมวยไทยไม่ได้ใส่นวมจะชกกันด้วยมือเปล่า หรือใช้ผ้าดิบพันมือจึงสามารถใช้มือจับคู่ต่อสู้เพื่อทุ่ม หัก หรือบิดได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิงในการต่อสู้มากกว่าการใช้พละกำลังจึงเกิดท่ามวยมากมาย ต่อมามีการกำหนดให้นักมวยไทยใส่นวมในขณะขึ้นชกแข่งขันเช่นเดียวกับมวยสากล และมีการออกกฎกติกาต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่นักมวย และง่ายต่อการตัดสินท่ามวยที่มีมาแต่อดีตบางท่าจึงไม่สามารถนำมาใช้ในการแข่งขันได้ ถือว่าผิดกติกา และบางท่านักมวยก็ไม่สามารถใช้ได้ถนัดเนื่องจากมีเครื่องป้องกันร่างกายมาก ท่ามวยบางท่าจึงถูกลืมเลือนไปในที่สุด

หมายเหตุ
          มวยไทยปัจจุบันได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปทั่วโลกทุกทวีป ชาวต่างชาติทั้งชาย-หญิง ได้นำวิชามวยไทยไปฝึกเพื่อศิลปะการต่อสู้ป้องกันตนเอง(Self-defense) และมีนักกีฬามวยไทยทั้งในระดับสมัครเล่นและอาชีพ (Amateur and professional)นักกีฬามวยไทยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ไม่ใช่มีแต่นักมวยไทยเท่านั้น นักมวยต่างชาติที่มีฝีมือมีศิลปะมวยไทยดีกว่า จนสามารถเอาชนะนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงก็มีไม่น้อยตรงกันข้ามกับการฝึกมวยไทยของเราที่เราเป็นต้นตำรับ เราฝึกเพื่อส่งเข้าแข่งขัน เล่นการพนัน มีแต่ใช้กำลังเข้ากอดปล้ำตีเข่ากันอย่างเดียว ไม่มีศิลปะแม่ไม้มวยไทยเช่นแต่ก่อน จึงเป็นจุดเสื่อมของมวยไทยตามทัศนะของบุคคลที่ได้รวบรวมไว้ในหัวข้อ "มวยไทยปัจจุบัน : ภาพลักษณ์การพนันและสิ้นยุคพัฒนาการ" เพื่อเป็นข้อสังเกตุ วิเคราะห์ และหาแนวทางพัฒนาศิลปะมวยไทยของเราต่อไป

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 35,364 Today: 3 PageView/Month: 33

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...